Product Analytics คืออะไร?
สำหรับคนทำงานสาย Digital Marketing, Tech Company น่าจะคุ้นเคย Product Analytics Tool อย่าง Google Analytic หรือบางบริษัทก็มี Internal Tools เป็นของตัวเอง แต่เพื่อนๆทราบไหมว่า นอกจากใช้เครื่องมือเป็นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการรู้ว่าข้อมูลที่ได้มานั้น มีประโยชน์ นำไปใช้ปรับปรุงพัฒนาสินค้าเราได้ยังไงบ้าง วันนี้เลยรวบรวม Product Analytics Metrics ต่างๆ ที่มีประโยชน์และนำไปใช้งานได้อย่างทรงพลัง รับรองอ่านแล้วคุ้มค่ากับเวลาค่าา
Product Analytics คือค่าตัวชี้วัดที่ช่วยให้คนทำงานไม่ว่าจะเป็น product owner, Marketers, Product Designers, Enginner, Excutive เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับProduct นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น ใครคือผู้ใช้ ใช้อะไร ใช้เมื่อไหร่ ใช้ตรงไหน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงละเอียดที่ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมการใช้ของลูกค้า เป็นข้อมูลนำมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงหรือต่อยอดพัฒนาฟังก์ชันต์ให้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างข้อมูลที่เราสามารถหาได้จากProduct analytics เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งๆขึ้นไป เช่น
- สินค้าของเรา ฟังก์ชันต์ไหนที่ลูกค้าส่วนใหญ่เลือกใช้หรือใช้ถี่
- ฟังก์ชันต์อะไรที่เราควรลงทุนพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า
- เห็นโอกาสอะไรบ้างจากพฤติกรรมการใช้ของลูกค้า ที่เราควรพัฒนาเพิ่ม เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตขึ้นไปอีก
- พฤติกรรมต่างอะไรที่เห็นได้ชัดระหว่างผู้ใช้งานที่ใช้สินค้าเราบ่อยๆกับคนที่มาครั้งเดียวหรือนานๆมาที เพื่อหาจุดเเข็งของสินค้าเรา
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ได้แก่
- Growth Analysis : ช่วยทำให้เราทราบถึงที่มาของจำนวนผู้ใช้ที่โตมากขึ้น เช่น ดูสัดส่วนผู้ใช้ตาม user state ผู้ใช้หน้าใหม่ ผู้ใช้หน้าเก่า หรือผู้ใช้ที่เคยเลิกใช้กลับมาใช้ใหม่ รวมถึงแหล่งที่มาของผู้ใช้ เช่นลูกค้า30% เข้ามาใช้เราผ่าน Facebook Link, 50% เข้าเว็บไซค์ตรง เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เราว่าควรโฟกัสลูกค้ากลุ่มไหนหรือช่องทางไหน
- Aggregate engagement : จำนวน active users ที่ใช้สินค้าเรา รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน ความถี่ในการใช้ต่อคนต่อวัน ต่อสัปดาห์ ต่อเดือน ระยะเวลาในการใช้ยาวหรือสั้นกี่นาที ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เราทราบว่าสินค้าเราเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าเรามากน้อยแค่ไหนผ่านข้อมูลเหล่านี้ เช่นถ้าพบกว่าลูกค้าส่วนใหญ่กลับมาใช้อาทิตย์ละ 2 ครั้ง เราก็ควรนำเสนอข้อมูลหน้าเว็บไซค์ที่ไม่จำเจ
- User Segmentation : เพื่อทำความเข้าใจว่าลูกค้าเราจริงๆคือกลุ่มไหน โดยการจัดกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรมที่คล้ายๆกัน เช่นเป็นกลุ่มแม่บ้าน เป็นกลุ่มเด็กจบใหม่ หรือเป็นกลุ่มชาวต่างชาติ เป็นต้น การจัดกลุ่มลุกค้าจากนนั้นศึกษาพฤติกรรมการใช้ของแต่ละกลุ่ม จะช่วยทำให้เรารู้ว่ากลุ่มไหนคือลูกค้าหลักของเรา และความต้องการของเขาคืออะไร
- Event Segmentation: อีก 1 วิธีในการจัดกลุ่มผู้ใช้คือใช้พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงของลูกค้ามาเป็นตัวแบ่งจัดกลุ่ม เช่น กลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าเราอย่างน้อย 2 ครั้งต่อเดียว หรือกลุ่มที่ไม่เคยซื้อ กลุ่ม Facebook followers เป็นต้น
- Funnel Analysis : ดูข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าตามFunnel การใช้สินค้าของเรา เช่นสินค้าเราคือ website ขายของ สามารถแบ่ง funnel ดังนี้ Funnel 1: % users ที่ Log-in เข้าระบบ Funnel 2: % users ที่กดดูสินค้า Funnel 3: % users ที่กดสินค้าใส่ตระกร้า Funnel 4: % users ที่ชำระเงินสำเร็จ การวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูล Funnel analysis จะช่วยให้เราทราบว่า Funnel ไหนที่เรามีปัญหาเพื่อจะได้หาวิธีแก้ไขให้ดีขึ้น
- A Flow Analysis : ศึกษาพฤติกรรรมว่าลูกค้าทำอะไรบ้างหลังจากเข้าเยี่ยมหน้า websiste เรา เช่น สังเกต 5 อย่างที่ลูกค้าทำเมื่อเข้าหน้าเว็บไซค์เรา เพื่อให้ทราบว่าลูกค้ากำลังมองหาอะไร หรือลูกค้าชื่นชอบพื้นที่หรือฟังก์ชันต์ไหนบนหน้าเว็บไซค์ เพื่อนำข้อมูลนี้ในการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น เช่นลูกค้ามักไปกดดู flash deal promotion จากนั้น คลิกแคมเปญแบนเนอร์ กดดูสินค้า กด wishlist ไว้ พฤติกรรมทำให้เราทราบว่าลูกค้ามองหาโปรโมชั่นหรือดีลดีๆ ดังนั้นเราอาจนำข้อมูลนี้พัฒนาแคมเปญที่เหมาะกับลูกค้าเรา หรือแจ้งเตือนลูกค้าเมื่อมีโปรโมชั่นดีๆเป็นต้น
- Retention : ตัววัดนี้เป็นตัววัดที่สำคัญมากๆสำหรับคนพัฒนาสินค้า เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดถึงอัตราการเติบโตของสินค้า ยิ่ง retention rate สูงยิ่งหมายถึงความพึงพอใจของผู้ใช้และพฟติกรรมเสพติดการใช้งานสินค้าเรา และแน่นอนว่ายิ่งลูกค้ากลับมาใช้เราบ่อยๆ ยิ่งหมายถึงรายได้ที่จะโตตาม
- Financial Cost : ตัววัดนี้หมายถึงต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ 1 คน ในแต่ละช่องทาง มีความคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน เช่น ต้นทุนการหาลูกค้าใหม่ผ่าน Facebook ads อาจสูงถึง 100 บาทต่อคน แต่บน Youtube 50 บาทต่อคน ดังนั้นการโฆษณาบนช่องทาง Youtube ถูกกว่า Facebook เท่าตัวเลยทีเดียว
เป็นยังไงบ้างคะ เนื้อหาสาระเน้นๆ ของคนทำงานสายProduct ถ้าชื่นชอบ อย่าลืมกดติดตามน้า แล้วจะทยอยอัพบทความดีๆ ในการพัฒนา Products มาให้อ่านอีกเรื่อยๆค่า