Patticia L.
2 min readJun 9, 2018

เรียนไปด้วยกัน UAC Universal App campaigns คนทำแอปต้องรู้ไว้!

ถึงแม้ตัวเองจะเรียนจบสายการตลาดมาโดยตรง แต่ยอมรับว่าหลักสูตรที่เรียนมาไม่เพียงพอสำหรับโลกปัจจุบันแล้ว พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปไวพอๆกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนการศึกษาไม่สามารถผลิตหลักสูตรออกมาให้ทัน ดังนั้นสิ่งที่เล่าเรียนมาจึงเป็นฐานรากให้เรารู้ว่า Principle หลักของการตลาด คืออะไร แต่ถ้านำสิ่งนี้ไปสู่การวางแผนและปฎิบัติคงไม่เพียงพอและไม่ efficiency แล้ว

ร่วม 9 เดือนที่คลุกคลีกับการโปรเจคการพัฒนาแอปพลิชั่นตัวใหม่กับเหล่า developers ที่หลากสัญชาติ อีกไม่กี่วันก็จะได้ทำเรื่อง submit APP ขึ้น App Store และ Play Store นับจากนี้ไปเรื่องการบริหารแอปจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเตรียมพร้อม แต่อย่างที่เกริ่นไป ปัญหาคือ digital marketing for Mobile App คืออะไร ทำยังไง วางแผนกลยุทธ์ยังไงดี แค่คิดก้อตันล่ะค่ะ วันนี้เลยเริ่มหาข้อมูลจากอากู๋และเจอเครื่องมือตัวหนึ่งที่ชื่อ UAC: Universal App campaigns

About Universal App campaigns

UAC เป็นเครื่องมือที่เราโปรโมทแอปของเราผ่าน Google properties ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม search, Google Play, YouTube, and the Google Display Network เพียงแค่เราเตรียมประโยคขายของสวยๆ เน้นสั้นๆ พร้อมรูปหรือวิดีโอ และงบประมาณ เพียงแค่นี้แอฟของเราก้อพร้อมจะออกสู่สายตาไปหา potential customers แล้ว ส่วนเรื่อง optimize ads ที่เรามักได้ยินบ่อยๆปล่อยให้เป็นหน้าที่ UAC จัดการ เราแค่ระบุ bid ที่เราพร้อมจ่ายต่อ 1 transaction (เช่น 1 ดาวโหลด/ซื้อสินค้าในแอป) พร้อม budget ต่อวันที่พร้อมจ่าย เช่น 1 ยอดดาวโหลดไม่เกิน 25 บาทต่อคนและตั้งงบไว้ที่วันละ 1,000 บาท เท่ากับ แอปนี้จะมียอดดาวโหลดสูงสุด 40 คน/วัน

Ads optimized for installs or in-app conversions

objective ในการเลือกซื้อสื่อผ่าน UAC จะมีให้ระบุว่าต้องการซื้อสื่อเพื่อ
1. เพิ่มยอดดาวโหลดแอปฟลิชั่น
2. เพื่อยอด in-app conversation เช่นต้องการยอดขายมากขึ้น active users บนเเอฟมากขึ้น เป็นต้น
ซึ่งความฉลาดระบบของ UAC จะมีการปรับราคาประมูลเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าภายใต้เงื่อนไขที่เราตั้งไว้ เช่นราคาต่อ 1 ยอดดาวโหลดไม่เกิน 25 บาท UAC ยังมีการ optimize ads ให้เรา โดยระบบจะเลือกนำเสนอ ads ที่ efficient ที่สุดไปโปรโมท

แล้ว Ads ของเราโปรโมทที่ไหนบ้างนาา…
เราสามารถเห็น ads ของเราโผล่ได้ที่ Google Search and Google Play, YouTube, the Google Display Network, AdMob, และ กลุ่ม publishers ที่มีขายพื้นที่สื่อ

ปิดท้ายด้วย Campaign optimization and bidding

ปกติการซื้อสื่อออนไลน์ จำเป็นต้องมีการ optimize เสมอ โดยการ optimize จำเป็นต้องเลือก objective เสมอให้ได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ

UAC มี objectives ให้เลือก 3 Options ได้แก่

  1. Focus on getting more installs เป็นการเน้นเพื่อเพิ่มยอดดาวโหลดเเอฟ โดยข้อควรระวังคือเราควรตั้งราคาประมูล ที่อยู่ในราคาเฉลี่ยในตลาดของการซื้อสื่อเพื่อเพิ่มยอดดาวโหลดแอฟ

2. Focus on driving in-app actions เป็นการเน้นหาลูกค้าที่มีพฤติกรรมที่เราอยากได้เช่นหาคนซื้อสินค้าบนแอฟเรา แต่วิธีนี้ต้องมั่นใจว่าแอฟมีการติดตั้ง conversion event เพื่อให้ระบบทราบว่าtracking conversion นั้นๆได้ การเลือกobjective นี้ระบบจะตามหาลุกค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกับพฤติกรรมที่เราอยากได้ เช่น หากเราอยากได้ยอดขายมากขึ้น ระบบจะตามหาลูกค้าที่ชอบเข้าแอฟe-commerce หรือเคยซื้อสินค้าออนไลน์มาก่อนเป็นต้น ซึ่งเราต้องตั้งค่า CPA (cost per action) ที่เรายินดีจ่ายต่อการหา 1 conversion

3. Focus on driving in-app action value เป็นการเลือกหาลูกค้ามีโอกาสสร้างมูลค่าตอบแทนกลับมาหาเรา โดยเน้นความคุ้มค่าในการซื้อสื่อ การซื้อสื่อ objective แบบนี้ จะต้องมีการตั้งค่า ROAS (return-on-ad-spend) สมมติตั้งไว้ที่ 50% แปลว่าทุกการซื้อสื่อ 1 บาทที่เราจ่าย Google ไปจะมีรายได้กลับมาจากการที่ลุกค้าซื้อสินค้าในแอฟเรามูลค่า 50 สตางค์เกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือการเลือก objective แบบนี้ต้องมีการติดตั้ง tracking conversion events เพื่อสามารถติดตั้งผลได้

ความเจ๋งของการซื้อสื่อออนไลน์คือ เราสามารถทราบผลการลงทุนของเราได้แบบ real-time แถมยังสามารถคุม budget ได้อีกด้วย รวมถึงสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าได้ละเอียดมากๆ แบบที่สื่อแบบเก่าไม่สามารถทำได้เลย เช่นลูกค้าเปิดแอฟเราแล้วไปหน้าไหนบ้าง คลิกดูอะไร ใช้เวลาบนเเอฟเรานานเท่าไหร่ ออกจากแอฟจากหน้าไหน ทั้งหมดคือ BIG DATA ที่ปัจจุบันพูดๆกันนี่เองง…

Patticia L.

Product Owner, Curiosity in business analytic and user behavior