ตอนที่ 1 Product Manager คือใคร ทำอะไร

Patticia L.
1 min readFeb 16, 2020

--

บริษัทคาดหวังอะไรจากคนกลุ่มนี้ พวกเขาทำอะไร….เรื่องเล่าจากคนอาชีพนี้

ผู้เขียนมีโอกาสได้ทำงานในตำแหน่ง Product Manager (PM) เมื่อสามปีที่แล้ว ในสมัยนั้นมีโอกาสคุมโปรเจคทำ Mobile Application ของบริษัทRetailแห่งหนึ่ง ทำอยู่ร่วมสองปีก่อนย้ายมาทำงานอีกบริษัทที่อยู่ในสาย Internet industry แต่ยังคงดูแลโปรเจคในสาย E-commerce เหมือนเดิม สายอาชีพนี้ส่วนตัวผู้เขียนก้อจับผลัดจับผลูกระโดดมาเล่นในสนามนี้แบบไม่ทันตั้งตัวเช่นกัน วันนึงมีโอกาสเจอหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า The Product Book — How to become a great product manager อ่านไปอ่านมา รู้สึกชอบเนื้อหา เลยเชื่อว่าหากทำสรุปเพื่อแบ่งปันให้คนอื่นที่สนใจในสายอาชีพนี้น่าจะเป็นประโยชน์มากๆ เพราะอาชีพนี้ถือเป็นอาชีพเกิดใหม่และไม่มีการสอนแบบจริงจังในสถาบันการศึกษาไทย

Chapter 1: What is Product Management (PM)?

source: google.com

เมื่อ Engineer ถูกจ้างมาเพื่อสร้างสินค้า Designers ทำหน้าที่ให้สินค้าออกมาสวย ใช้งานง่าย Marketers ทำหน้าที่ให้ลูกค้ารู้จักสินค้า ขณะที่ Sale ทำหน้าที่ขายสินค้าให้ลูกค้าที่ตรงกลุ่มยอมจ่ายเพื่อซื้อสินค้าเรา แล้วอย่างงี้ PM ทำหน้าที่อะไรล่ะ ง่ายๆเลยค่ะ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนลูกค้า สามารถวิเคราะห์ได้ว่าลูกค้าต้องการอะไรกันแน่เพื่อแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการที่ตรงจุด ดังนั้นคนที่ทำงานในสายอาชีพนี้จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีทักษะเข้าใจและวางแผน Business strategy ได้รวมถึงลงมือปฎิบัติได้จริง สามารถกำหนดเครื่องมือที่ใช้วัดความสำเร็จได้ ทั้งต่อลูกค้าและสินค้า สามารถจัดเรียงลำดับความสำคัญถึงงานที่ต้องทำได้ เช่นหากพบว่ามีสินค้าที่ออกสู่ตลาดไปแล้วมีปัญหาให้แก้ 10 อย่าง ด้วยเวลาและ resources ที่มีอยู่ PM ต้องทราบว่าต้องแก้ไขปัญหาใดก่อน ด้วยทางออกแบบใดที่ทีมงาน ไม่ว่าจะ engineer team, designer team, business team, budget, time spend เห็นชอบและสามารถปฏิบัติได้จริง จะเห็นว่าคนตำแหน่งนี้ทำงานร่วมกับหลากหลายทีมมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจให้ดีคือ คนเป็น Product Manager ทำหน้าที่บริหารจัดการ Product ไม่ใช่ People การมี soft influence, effective communication, leadership และ trust จึงเป็นอาวุธติดตัวที่สำคัญและเป็นสิ่งที่สอนกันยาก เรียกว่าต้องใช้ชม.บินสั่งสมประสบการณ์กันไป

หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ Product Manager เปรียบเสมือน conductor ของวง orchestra ที่ conductor ไม่เคยมีส่วนร่วมในการสร้างเสียงบนบทเพลงที่กำลังบรรเลง หากแต่รับผิดชอบให้วง orchestra ทั้งวงนั้นสามารถถ่ายทอดบทเพลงออกมาได้อย่างไพเราะ เพื่อส่งมอบความสุขให้แก่ผู้ฟัง

Product Manager เป็นตำแหน่งที่ต้องทำงานร่วมกับสามแผนกนี้ ได้แก่ 1) Product Development (Engineer) 2) Product Design 3) Product Marketing แน่นอนว่าก่อนเราจะลงมือผลิตสินค้า PM ต้องเริ่มทำงานกับ 3ทีมนี้ โดยให้ทีมDesigner ช่วยออกแบบฟีตเจอร์ กดแล้วจะเจออะไร พาไปหน้าไหน หน้านั้นต้องสื่อสารอะไรถึงลูกค้า ส่วนนักการตลาดจะเข้ามาช่วยเเสดงความเห็นเรื่องเทรนการตลาด ความต้องการของลูกค้า สู้คู่แข่งได้หรือไม่ ในขณะที่ วิศวกรจะช่วยวางแผน ว่าฟีตเจอร์ที่ออกแบบนั้นสามารถผลิตได้จริงหรือไม่ เรียกว่ากว่าจะได้ Final Feature/Product ต้องทำงานร่วมกันหลายฝ่ายมาก กว่าจะตกตะกอนได้เป็นFeature/Product ปล่อยสู่ตลาด ยกตัวอย่าง บริษัทที่ผู้เขียนทำงานอยู่ หลังจากที่มีการตกลง spec คร่าวๆของ Feature/Product ทีม designer ต้องทำ prototype ของสินค้าเพื่อเอาไปทำการทดลองร่วมกับกลุ่มลูกค้าก่อน เพื่อวัดผลความพึงพอใจจากลูกค้า ซึ่งเป็นการทำวิจัยแบบง่ายๆเพื่อป้องกันการผลิตสินค้าที่ไม่ตอบโจทย์ลูกค้า แบบว่าทีมทำงานมโนกันไปเอง :) หากพบกว่าสินค้าที่ออกแบบนั้นยังไม่ตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาที่แท้จริงของลูกค้าได้ Feature/Product นั้นจะถูกดึงกลับพัฒนาต่อไปและนำกลับมาทดลองใหม่จนกว่าจะตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด

เป็นไงคะ อาชีพ Product Manager ส่วนตัวคิดว่าเหมาะกับคนที่ชอบงานเชิงคิด วิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ ช่างสังเกต ช่างวางแผน แก้ไขเฉพาะหน้าได้ และเข้าใจคน :)

บทต่อไปไว้จะมาเล่าเรื่อง Product-Development Life Cycle ซึ่งผู้เขียนก้อเรียนไปพร้อมคนอ่านนิแหละ >< แต่จะเสริมจากประสบการณ์จริงเพื่อให้เห็นภาพกันเร็วขึ้นนะ ^^

--

--

Patticia L.

Product Owner, Curiosity in business analytic and user behavior